รายงานข่าวจากรมทางหลวง(ทล.)แจ้งว่า ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว หนองคาย-เวียงจันทน์ แห่งที่ 2 แล้วเสร็จ อยู่ระหว่างนำเสนอผลการศึกษาให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา เพื่อมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการก่อสร้างต่อไป ซึ่งอาจเป็นการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

สำหรับผลการศึกษาจะก่อสร้างสะพานใหม่จำนวน 2 แห่ง เพื่อรองรับปริมาณการเดินทางและการขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ได้แก่ 1.ก่อสร้างสะพานรถไฟ ด้านท้ายน้ำของสะพานเดิม สำหรับรองรับรถไฟทางคู่ (รางขนาด 1 เมตร จำนวน 2 ทาง) และรถไฟความเร็วสูง (รางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร จำนวน 2 ทาง) ซึ่งทำให้มีสะพานรถไฟรองรับได้ จำนวน 4 ทางสะพานมีความกว้าง 24.2 เมตร และ 2.ก่อสร้างสะพานรถยนต์แห่งใหม่ ด้านเหนือน้ำของสะพานเดิม จำนวน 2 ช่องจราจร ความกว้างช่องจราจร ช่องละ 3.5 เมตร ไหล่ทางด้านในกว้าง 1 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2 เมตร และมีทางเดินเท้ากว้างข้างละ 1.5 เมตร รวมความกว้างสะพาน 13 เมต

โครงการดังกล่าวมีวงเงินลงทุนประมาณ 3,117 ล้านบาท กำหนดการก่อสร้างเป็น 2 ระยะ(เฟส)ตามปริมาณการเดินทางและขนส่งสินค้า ดังนี้

เฟส 1 ก่อสร้างสะพานรถไฟแห่งใหม่และปรับปรุงสะพานรถยนต์เดิม วงเงิน 2,083 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าก่อสร้างกว่า 1,840 ล้านบาท ค่าควบคุมงานกว่า 142 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดินกว่า 88 ล้านบาท และค่าจัดการสิ่งแวดล้อมกว่า 11 ล้านบาท โดยก่อสร้างสะพานรถไฟแห่งใหม่ รองรับรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง พร้อมปรับปรุงสะพานเดิม โดยรื้อย้ายรางรถไฟเดิมออก ให้เป็นสะพานรถยนต์เพียงอย่างเดียว คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างประมาณปี 2569 ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2572 ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

เฟส 2 ก่อสร้างสะพานรถยนต์แห่งใหม่ วงเงิน 1,034 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างกว่า 957 ล้านบาท ค่าควบคุมงานกว่า 71 ล้านบาท และค่าจัดการสิ่งแวดล้อมกว่า 5 ล้านบาท โดยก่อสร้างสะพานรถยนต์แห่งใหม่ ขนาด 2 ช่องจราจร รวมกับ 2 ช่องจราจรของสะพานเดิม เป็น 4 ช่องจราจร (2 ช่องจราจรต่อทิศทาง) มีแผนก่อสร้างประมาณปี 2584 ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2587 ระยะเวลาก่อสร้าง 30 เดือน หรือมีการก่อสร้างหลังจากที่เปิดให้บริการสะพานในเฟสแรกแล้วประมาณ 10 ปี

โครงการนี้ได้จัดทำการศึกษาวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อมและจัดการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและลดผลกระทบจากโครงการมากที่สุด นอกจากนี้จากการคาดการณ์ปริมาณจราจร เปรียบเทียบกรณีที่การขนส่งสินค้าทางรถไฟเป็นไปตามสภาพโครงข่ายคมนาคมขนส่งในปัจจุบัน (ทางรถไฟขนาด 1 เมตร บนสะพานเดิม โดยใช้งานรวมกับการขนส่งทางรถยนต์) กับกรณีที่พัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางรางในพื้นที่ศึกษา (สะพานแห่งใหม่สำหรับรถไฟความเร็วสูง และรถไฟทางคู่) พบว่าตามสภาพแวดล้อมในปัจจุบันมีความต้องการขนส่งสินค้าผ่านด่านสะพานหนองคาย ในปี 2572 ประมาณ 2.60 ล้านตันต่อปี โดยปริมาณการขนส่งสินค้าส่วนใหญ่ ประมาณ 80%เป็นการขนส่งทางถนน อีกประมาณ 20%เป็นการขนส่งทางรถไฟคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

สำหรับในกรณีที่มีการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางรางในพื้นที่ศึกษาของโครงการจะดึงดูดให้มีการขนส่งสินค้าผ่านด่านสะพานหนองคายเพิ่มสูงขึ้น จาก 2.60 ล้านตันต่อปี เป็น 4.92 ล้านตันต่อปี ในปี 2572 และเพิ่มสูงขึ้นเป็น 13.2 ล้านตันต่อปี ในปี 2601 โดยมีสัดส่วนการขนส่งทางรถไฟเพิ่มสูงขึ้น ในระดับ 60-75%ของปริมาณการขนส่งสินค้าทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางด้วยประสิทธิภาพโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางรางที่เพิ่มสูงขึ้น

ขณะเดียวกันสะพานมิตรภาพไทย-ลาว (หนองคาย-เวียงจันทน์) ซึ่งต้องปิดไม่ให้รถยนต์ผ่านในระหว่างที่มีการเดินขบวนรถไฟนั้น ไม่สามารถรองรับปริมาณจราจรคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคตได้ ส่งผลให้เกิดความแออัดบริเวณหน้าด่านสะพาน รวมถึงความล่าช้าในการขนส่งสินค้าทางรถไฟด้วย

By admin