เมื่อวันอังคาร (23 พ.ค.) ที่ผ่านมา นักวิจัยออสเตรเลียเผยแพร่ผลการศึกษาเกี่ยวกับอาการปวดหลัง ในวารสารแลนเซ็ต รูมาโทโลจี (Lancet Rheumatology) โดยผลการศึกษาระบุว่า ผู้คนทั่วโลกประมาณ 843 ล้านคน อาจได้รับผลกระทบจากอาการปวดหลังภายในปี 2050 หรืออีก 27 ปีข้างหน้า
ทั้งนี้หลังจากนักวิจัยได้ทำกาวิเคราะห์ข้อมูลเป็นระยะเวลา 30 ปี ระหว่างปี 1990-2020 จากกว่า 204 ประเทศและภูมิภาค เพื่อจัดทำแผนที่ภูมิทัศน์ของผู้มีอาการปวดหลัง ซึ่งผลการศึกษาบ่งชี้ว่า จำนวนคนปวดหลังระดับโลกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
อนุมัติทดสอบในมนุษย์ “ชิปฝังสมองนิวรัลลิงก์” ของ อีลอน มัสก์
นักวิจัยช็อก! การ “รีไซเคิลพลาสติก” สร้าง “ไมโครพลาสติก” จำนวนมหาศาล?
นิวยอร์กกำลังทรุดตัว-จมลงต่อเนื่อง จากน้ำหนักตึกสูงที่มากเกินไป
โดยผู้คนมากกว่าครึ่งล้านประสบกับอาการดังกล่าวในปี 2017 จากนั้นตัวเลขเพิ่มสูงขึ้นเป็นประมาณ 619 ล้านคนในปี 2020
นอกจากนี้ยังพบภาวะความพิการอย่างน้อย 1 ใน 3 ที่เชื่อมโยงกับอาการปวดหลัง โดยยมีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านอาชีพ การสูบบุหรี่ และน้ำหนักเกินเกณฑ์
ส่วนข้อมูลผลการศึกษาเฉพาะในออสเตรเลีย พบว่า ออสเตรเลียจะพบจำนวนคนปวดหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ภายในปี 2050 และในระดับโลก จะพบจำนวนคนปวดหลังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญมากที่สุดในเอเชีย และแอฟริกา
ศาสตราจารย์ มานูเอลา เฟอร์เรรา อาจารย์จากศูนย์สุขภาพด้านกล้ามเนื้อและกระดูกของนครซิดนีย์ และผู้เขียนผลการศึกษาดังกล่าว เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์ทำให้เห็นภาพจำนวนคนปวดหลังล่างที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ซึ่งสร้างแรงกดดันอย่างมากต่อระบบการรักษาพยาบาล และจำเป็นต้องสร้างแนวทางระดับชาติที่มีความต่อเนื่อง เพื่อจัดการกับอาการปวดหลังล่าง
ด้าน เคที เดอ ลูกา ผู้ร่วมเขียนผลการศึกษา และอาจารย์อาวุโสจากมหาวิทยาลัยเซนทรัลควีนส์แลนด์ ระบุว่า หากไม่มีการดำเนินงานที่ถูกต้อง อาการปวดหลังล่างสามารถกลายเป็นต้อตอของปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด อาการทางสุขภาพจิต การผ่าตัดทางการแพทย์แบบรุกล้ำร่างกาย และความพิการได้
นอกจากนี้อาจารย์เดอ ลูกา ยังบอกด้วยว่า อาการปวดหลังล่างจะยังคงเป็นต้นตอสำคัญที่สุดของภาวะความพิการทั่วโลก ซึ่งนำไปสู่ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงผลกระทบทางร่างกาย และบุคคล ซึ่งจะคุกคามผู้สูงวัยโดยตรงด้วยคำพูดจาก เล่นเกมสล็อตออนไลน์